เศรษฐกิจและสังคมของมานิ
ที่พักอาศัยแบบดั่งเดิมของมานิกลุ่มเคลื่อนย้าย
ที่พักอาศัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของมานิกลุ่มเคลื่อนย้าย
หัวมันที่มานิเก็บหามาจากป่าเพื่อใช้เป็นอาหารหลัก
การทำมาหากินของมานิ
ชนเผ่าพื้นเมืองชาวมานิที่ยังเป็นกลุ่มเคลื่อนย้ายตามแหล่งอาหาร ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของการดำรงชีวิตแบบวิถีดั้งเดิมนั่นคือ การเก็บหาของป่าและล่าสัตว์อยู่ การทำมาหากินของพวกเขาจะแบ่งหน้าที่กันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ออกเก็บหาของป่าประเภทหัวมัน และพืชผักป่า โดยจะออกไปเก็บหาหัวมันวันต่อวัน ไม่มีการค้างคืนในป่า จะออกไปตอนเช้าและกลับมาตอนเย็น นำหัวมันมาประกอบอาหารในแต่ละวัน ส่วนผู้ชายจะทำหน้าที่ออกล่าสัตว์ ในแต่ละทับจะมีการออกล่าสัตว์กันอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป มีการใช้ตุดหรือบอเลาเป็นเครื่องมือล่าสัตว์ในป่าและจะไปนอนค้างในป่าไม่เกิน 2 คืน ก็จะกลับมายังทับ ไม่ว่าการไปล่าสัตว์ครั้งนั้นจะได้สัตว์มาหรือไม่ แต่อย่างน้อยๆ ก็จะมีผลไม้ป่าติดมือกลับมาให้เด็กๆ ได้กินเสมอ
พืชสมุนไพรรักษาโรคตามความรู้ของมานิ
ผลไม้ป่าที่มานินำมาให้เด็กๆ กิน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ชาวมานิในปัจจุบันเริ่มปรับตัวรู้จักหุงข้าวและการต้มแกงที่มีวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่หลากหลาย จากการได้รับการถ่ายทอดความรู้และพฤติกรรมผ่านชาวบ้านโดยรอบ ชาวมานิบางกลุ่มเริ่มออกมาจากป่าเพื่อรับจ้างทำงานแลกเงิน เช่น รับจ้างกรีดยาง แบกไม้ ถางไร่สวน เก็บไม้ยาง ทำสวนยาง เพื่อนำเงินมาซื้ออาหาร เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น จึงทำให้ชาวมานิปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มชุมชนตั้งถิ่นฐานถาวร มีการครอบครองรถยนต์และการค้าขายกับชาวบ้านในพื้นที่มากขึ้น
ชาวมานิชุมชนเขาน้ำเต้า เก็บดอกหญ้าขายให้กับชาวบ้านนในพื้นที่เพื่อใช้ผลิตไ้ม้กวาด
บ้านเรือนของชาวมานิกลุ่มตั่งถิ่นฐานถาวรเริ่มเปลี่ยนแปลง รวมถึงภูมิทัศน์รอบบ้าน มีการปลูกผลไม้ และไม้ดอก ไม้ประดับรอบๆ บริเวณบ้าน (ชุมชนมานิเขาหัวสุม, 2562)
การทำยางแผ่นของชาวมานิ เป็นอีกหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง